สรุปการรายงานการศึกษาดูงานทุกกลุม >>> คลิ๊กที่นี่ <<<
บันทึกการเรียนรู้เรื่อง : ทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดทางการบริหารจัดการจัดการระบบงาน ECT
หลัักการการจัดการระบบงานเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ECT) มีดังนี้
1. หลักการจัดการโดยวัตถุประสงค์เป็นฐาน (Objective Base Management / Management by Objective : MBO) โดย Peter Drucker เน้นหลักการการกำหนดวัตุประสงค์ กระบวนการทำงานร่วมกัน ขององค์กร
2. หลักการจัดการโดยสมรรถนะเป็นฐาน/มุ่งเน้นผลงาน (Performance-Based Management) โดย Stanley and Sturt-Smith เน้นผลงาน/ผลสำเร็จของงานตามเป้าหมายขององค์กร
3. หลักการจัดการโดยการมีส่วนร่วมเป็นฐาน (Participatory-Based Manager) เน้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับงาน ECT ได้มีส่วนในการวางระบบงานร่วมกัน
4. หลักการจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นฐาน (Results-Based Management) เน้นผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงานเป็นหลัก โดยมีการวัดผลของการปฏิบัติงานที่ชัดเจน
******************************
บันทึกการเรียนรู้เรื่อง : ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน ECT
1. ทฤษฏีการสื่อสาร : SMCR Model โดย เดวิด เค. เบอร์โล (David K.Berlo) ได้พัฒนาทฤษฎีที่ผู้ส่งจะส่งสารอย่างไร และผู้รับจะรับ แปลความหมาย และมีการโต้ตอบกับสารอย่างไร
2. ทฤษฏีระบบ : ทฤษฎีระบบ (System Theory) เป็นทฤษฎีที่ทำให้นักบริหาร สามารถที่จะมองเห็นภาพรวมขององค์การทั้งหมดตามหน้าที่ที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาองค์การในลักษณะระบบนั้นจะก่อให้เกิดการวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาขององค์การทั้งระบบ
3. ทฤษฏีการเผยแพร่ : ทฤษฎีและการเผยแพร่ของศาสตร์ต่าง ๆ นำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้นและเป็นทฤษฎีที่ไม่บ่งชี้เฉพาะว่า ใช้สำหรับการเผยแพร่นวัตกรรรมของสาขาวิชาหรือศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งโดยเฉพาะ เหตุผลที่ว่าทำไมทฤษฎีการเผยแพร่ถึงไม่มีความเฉพาะ เนื่องจากการเผยแพร่นวัตกรรมนั้นมีในทุกสาขาวิชาและทุกศาสตร์
การนำไปประยุกต์ใช้
การดำเนินงานใด ๆ ก็ตามเกิดขึ้นอย่างมีระบบ เราจะเห็นถึงความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันอย่างเป็นองค์รวม องค์กรแห่งหนึ่งที่บริหารงานด้าน ECT เริ่มต้นด้วยการวางแผนงานในด้านต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ การจัดทำแผนงาน, รูปแบบการดำเนินงาน, งบประมาณ , ทีมงาน, พันธมิตร ฯลฯ ในกรอบเวลาที่กำหนด เมื่อเข้าสู้การดำเนินงานปฏิบัติ จนงานเสร็จสิ้นกระบวนการ ต้องประเมินผลการจัดกิจกรรมดังกล่าวมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งในรูปตัวเงิน การสนับสนุนจากสปอนเซอร์ หรือพันธมิตร หรือองค์กรที่มีส่วนร่วม สื่อแขนงต่าง ๆ ที่เผยแพร่ข่าวสารกิจกรรม ฯลฯ ตลอดจน การประเมินผลจาก Feedback ในการปฏิบัติงานในลักษณะต่างๆ
SWOT Analysis คืออะไร
SWOT Analysis เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพองค์กร เพื่อค้นหา จุด แข็ง จุดอ่อน รวมถึงโอกาส และอุปสรรคในการดําเนินการขององค์กร หรือความสามารถในการแข่งขัน เพื่อ นําพาองค์กรไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตหรือเป้าหมายที่วางไว้
SWOT เป็นตัวย่อของ คํา 4 คํา ที่มีความหมายดังนี้
S ย่อมาจาก Strengths คือ ลักษณะเด่นขององค์กรที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อความสําเร็จขององค์กร (จุดแข็ง)
W ย่อมาจาก Weaknesses คือ ลักษณะขององค์กรที่ไม่ดี เป็นอุปสรรคต่อความสําเร็จขององค์กร (จุดอ่อน)
O ย่อมาจาก Opportunities คือ ปัจจัยภายนอกที่เอื้อต่อความสําเร็จขององค์กร (โอกาส)
T ย่อมาจาก Threats คือ ปัจจัยภายนอกที่คุกคามหรือทําให้เกิดปัญหาต่อความสําเร็จขององค์กร (อุปสรรค)
ประโยชน์ของ SWOT Analysis
ผลจาก SWOT Analysis จะช่วยให้เข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อการดําเนินการขององค์กร หลังจาก วิเคราะห์เพื่อประเมินปัจจัยภายในองค์กรเพื่อให้ทราบ จุดแข็ง และจุดอ่อน ประเมินปัจจัยภายนอกเพื่อให้ ทราบ โอกาส และอุปสรรค แล้ว จุดแข็งและโอกาส จะนํามาใช้เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ในขณะที่ จุดอ่อนและอุปสรรค จะนํามาวางแผนเพื่อหาทางแก้ไขหรือป้องกันเพื่อไม่ให้มาขัดขวางการบรรลุเป้าหมายของ องค์กร โดยที่ข้อมูลทุกด้าน เหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกําหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร การกําหนด ยุทธศาสตร์และการวางแผนการดําเนินการตามยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมต่อไป
******************************
บันทึกการเรียนรู้เรื่อง : หลักในการบริหารจัดการองค์กร POSDCoRB
กรณีศึกษา : การนำไปใช้ในการบริหารสถานศึกษา
POSDCoRB คืออะไร
POSDCoRB
คือ
หลักในการบริหารจัดการองค์กรที่ใช้กันทั้งในภาครัฐ และ เอกชน ที่ผู้มีอำนาจบริหารมีหน้าที่ และ
บทบาทการบริหารอยู่ 7 ประการ คือ
P- Planning หมายถึง การวางแผน
ได้แก่ การจัดวางโครงการและแผนงานต่างๆ ขึ้นมาไว้ล่วงหน้า
O-Organizing หมายถึง การจัดองค์การ
ได้แก่ การแบ่งงาน การกำหนดส่วนงาน โครงสร้างขององค์การ การกำหนดตำแหน่งงานต่างๆ
พร้อมกับอำนาจหน้าที่
S-Staffing หมายถึง
การจัดการเกี่ยวกับตัวบุคคลในองค์การ นับตั้งแต่ การจัดอัตรากำลัง การสรรหา
การคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้งบุคคล การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง เงินเดือน
การโยกย้าย การพัฒนาบุคคลในองค์การเรื่อยไปจนกระทั่งการให้บุคคลพ้นจากตำแหน่ง
D-Directing หมายถึง การอำนวยงาน
ได้แก่การทำหน้าที่ในการตัดสินใจ วินิจฉัยสั่งการ การออกคำสั่ง
มอบหมายภารกิจการงานไปให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หลังจากนั้นต้องใช้ภาวะของการเป็นผู้นำในการกระตุ้นจูงใจคนให้ยอมรับในผู้บริหาร
Co- Coordinating หมายถึง การประสานงาน
ได้แก่ การทำหน้าที่ในการประสานกิจกรรมต่างๆ
ที่ได้มีการแบ่งแยกออกไปเป็นส่วนงานย่อยๆ
เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถทำงานประสานสอดคล้องกัน และมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
R- Reporting หมายถึง การรายงาน
ได้แก่การทำหน้าที่ในการรับฟังรายงานผลการฏิบัติงานของบุคคลและหน่วยงานที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาได้รายงานมา
การรายงานถือเป็นมาตราการในการตรวจสอบและควบคุมงานด้วย
B- Budgeting หมายถึง การงบประมาณ
ได้แก่ หน้าที่ที่เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ
การจัดทำบัญชีการใช้จ่ายเงินและการตรวจสอบควบคุมด้านการเงิน
การบัญชีของหน่วยงานนั่นเอง
POSDCoRB
ใช้เพื่อ
สร้างกลไก
และ โครงสร้างให้กับองค์กร
จัดเตรียมบุคลากรที่มีความชำนาญต่างกันให้อยู่ในแผนกที่เหมาะสมกับองค์กร
บุคลากรรู้หน้าที่ และ ผู้บริหารสามารถบริหาร และ สั่งการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
วางกรอบการทำงานให้องค์กรเพื่อเป็นแนวทางในการบริหาร
ส่งเสริมการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกันภายในองค์กร
4.
ข้อดีข้อเสียของ POSDCoRB
ข้อดี
· องค์กรมีโอการประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมาย
มีสายบังคับบัญชาเดียว
· สมาชิกองค์กรมีความเข้าใจวัตถุประสงค์องค์กร
และ แบ่งสายงานชัดเจน ไม่สับสน
· ในหน่วยงานเดียวกัน
มีความเข้มแข็ง เพราะเลือกสายอาชีพเดียวกันมาร่วมกันทำงาน
· ใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า
ถูกที่ถูกงาน
· การประสานงานระหว่างหน่วยงานมีความสะดวก
· จัดเตรียมงบประมาณสนับสนุนแต่ละส่วนได้อย่างเหมาะสม
ข้อเสีย
· เมื่อมีสายงานบังคับบัญชาที่ชัดเจน
บางหน่วยงานอาจเลี่ยงปฎิบัติงานจนกว่าผู้บริการจะสั่งการลงมาโดยตรง
· อุปกรณ์หรือเครื่องมือบางชนิดที่อยู่นอกเหนือหน่วยงานตนเอง
อาจต้องรอจนกว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบมาเป็นเมื่อการดำเนินงานให้
· ทุกคนล้วนอยากอยู่ในหน่วยงานบริหารหลัก
ทำงานใกล้ชิดผู้บริหาร อาจเกิดความขัดแย้ง
การนำไปใช้ประโยชน์
1.
หลักสกาลาร์ หรือสายการบังคับบัญชา
2.
หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา
3.
หลักช่วงการบังคับบัญชา
4.
หลักการเน้นที่จุดสำคัญ
5.
หลักการจัดแบ่งแผนกงาน
6.
หลักการเกี่ยวกับหน่วยงานหลักและหน่วยอำนวยการ
7.
หลักการเกี่ยวกับศูนย์กำไร
กรณีศึกษา : การนำไปใช้ในการบริหารสถานศึกษา
ในส่วนของการบริหารงานส่วนใหญ่มักจะเป็นหน้าที่ที่สำคัญของผู้บริหารของโรงเรียน
หลักในการบริหาร ลำดับแรกครูต้องมีการวางแผน (Planning)
เช่นในรายวิชานั้น ครูจะสอนเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง
มีการจัดให้ในห้องเรียนนั้น (Organizing) หาหัวหน้าห้องหรือตัวแทนของนักเรียนในแต่ละคาบ
(Staffing) เพื่อเป็นผู้ช่วยครู (Directing) ให้คอยควบคุมดูแลนักเรียนคนอื่นๆ
ช่วยเช็คชื่อ ประสานงาน (Coordinating) ระหว่างครูกับนักเรียน
ติดตามเรื่องงานและเรื่องกิจกรรมอื่นๆ ที่ครูอาจจะมีการสั่งไปให้ (Reporting) การที่ครูสามารถใช้นักเรียนเป็นผู้ช่วยจะทำให้ผูกมัดทางใจกับเพื่อนมากกว่า
ทำให้นักเรียนที่ทำงานอย่างตั้งใจประกอบการงานเต็มความสามารถและทำด้วยความกระตือรือร้น
*******************************************
*******************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น